โครงการวิจัยย่อย

โครงการที่ 1

โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อการควบคุมและป้องกันโรคธาลัสซีเมีย

ผลการดำเนินงานของโครงการวิจัยและพัฒนาที่ได้ดำเนินการวิจัยในรอบปี งบประมาณ 2557 สรุปพอสังเขปได้ดังนี้

1. ได้ดำเนินการโครงการควบคุมคุณภาพและพัฒนาระบบประเมินประสิทธิภาพการตรวจวิเคราะห์ฮีโมโกลบินอย่างต่อเนื่องโดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาควบคุมคุณภาพขึ้น ร่วมมือกับภาคเอกชน คือ บริษัท ดรูไบโอ (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นผู้แทนจาหน่ายเครื่องวิเคราะห์ฮีโมโกลบินอัตโนมัติหลักการ Low pressure liquid chromatography (LPLC) กับ บริษัท เมดิ ทอป จำกัด ซึ่งเป็นผู้แทนจาหน่ายเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติหลักการ Capillary electrophoresis มีผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ร่วมทดสอบ จำนวนมากกว่า 100 แห่ง จากทั่วประเทศ โดยมีข้อตกลงให้ทางโครงการวิจัยเป็นผู้พัฒนาตัวอย่างควบคุมคุณภาพส่งให้บริษัท ดำเนินการปีละ 3 ครั้ง และได้บรรลุข้อตกลงในการผลิตตัวอย่างควบคุมคุณภาพภายใน (internal quality control) สำหรับการตรวจวิเคราะห์ฮีโมโกลบินให้กับ บริษัท ดรูไบโอ (ไทยแลนด์) จำกัด โดยผลิตและส่งให้บริษัทเดือนละ 1 ครั้ง นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552 เป็นต้นไป ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินงานในรอบปีที่ 5

2. การศึกษาความสัมพันธ์ของจีโนไทป์-ฟีโนไทป์ในผู้ป่วยทั้งโรคอัลฟาธาลัสซีเมียและบีตาธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ โรค AEBart’s disease จนได้ผลงานตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ

3. ได้ศึกษากลไกการเกิดโรค β-thalassemia ชนิดรุนแรงปานกลางทำให้ทราบกลไกระดับโมเลกุลที่ชัดเจนและสามารถใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยและให้คำปรึกษาทางพันธุกรรมได้

4. ด้านการศึกษาฮีโมโกลบินผิดปกติ ได้ใช้เทคนิค Capillary electrophoresis ร่วมกับการตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอศึกษาฮีโมโกลบินผิดปกติทั้งในสาย α–globin และสาย β–globin และ δ-globin เป็นผลให้ค้นพบฮีโมโกลบินผิดปกติทั้งที่เคยมีและที่ไม่เคยมีรายงานในคนไทยมาก่อนหลายชนิด เช่น Hb Q-India, Hb Dunn, Hb G-Honolulu, Hb Cook, Hb E-Saskatoon และ Hb A2-Lampang เป็นต้นซึ่งก่อให้เกิดความผิดปกติที่มีความซับซ้อนยากต่อการตรวจวินิจฉัยในงานประจำวันการตรวจวินิจฉัยฮีโมโกลบินผิดปกติเหล่านี้ทางห้องปฏิบัติการมีส่วนสำคัญในการให้การดูแลรักษาและให้คำปรึกษาทางพันธุกรรมแก่ผู้ป่วยและครอบครัวผลการศึกษายังช่วยให้การวินิจฉัยฮีโมโกลบินผิดปกติในงานประจำวันทาได้ง่ายขึ้นและมีประโยชน์อย่างมากต่อการวินิจฉัยและให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยและได้ผลงานตีพิมพ์ในระดับนานาชาติหลายฉบับ

5. การศึกษาประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียด้วยวิธีต่างๆ เช่น การใช้ Inclusion body test และการใช้ immunochromatographic strip test สาหรับ Hb Bart’s ตลอดจนการตรวจประเมินการใช้เครื่องวิเคราะห์ฮีโมโกลบินอัตโนมัติรุ่นใหม่ในการวินิจฉัยธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติในประเทศไทย

6. การศึกษาเกี่ยวกับการแสดงออกของฮีโมโกลบินเอฟในผู้ที่เป็น homozygous Hb E ซึ่งพบได้บ่อยในคนไทย โดยศึกษาจาก SNPs ต่างๆ พบความสัมพันธ์ของ SNPs หลายชนิดในยีน BCL11A และ HBS1L Myb ที่มีผลต่อการแสดงออกของฮีโมโกลบินเอฟถือเป็นการค้นพบครั้งแรกในประเทศไทย

7. ด้านงานบริการทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง โครงการวิจัยนี้ได้ร่วมให้บริการทางวิชาการผ่านทางสถานบริการสุขภาพเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลายรายการ เช่น การผลิตน้ายาตรวจธาลัสซีเมียเชิงพาณิชย์ การให้บริการตรวจวินิจฉัยธาลัสซีเมียทั้งก่อนและหลังคลอดแก่โรงพยาบาลต่างๆและการจัดตั้งระบบ EQC สาหรับการตรวจวิเคราะห์ฮีโมโกลบิน เป็นต้น ทั้งนี้หน่วยบริการธาลัสซีเมียของกลุ่มได้รับการต่ออายุการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน ISO15189:2007 และ ISO15190:2003 ออกไปอีกเป็นเวลา 2 ปี

โครงการวิจัยและพัฒนาสามารถตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติได้ 17 เรื่อง ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศจำนวน 9 เรื่อง ยื่นขอจดสิทธิบัตรผลงานวิจัย 1 เรื่องและได้รับอนุสิทธิบัตรผลงานวิจัย 1 รายการ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในการประชุมวิชาการระดับชาติและเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการทั้งในระดับนานาชาติ และระดับชาติหลายครั้ง ให้บริการผลิตน้ำยาสาเร็จรูปเชิงพาณิชย์และให้บริการตรวจวิเคราะห์ยีนธาลัสซีเมียทางห้องปฏิบัติการ ที่สามารถดำเนินการมาได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังได้รับทุนสนับสนุนเพิ่มเติมจากหลายแหล่งทุน เช่น ทุน คปก. จาก สกว. และได้ดำเนินการวิจัยร่วมกับภาคเอกชนจำนวนหลายบริษัท ในรอบปีที่ผ่านมา ผลิตนักวิจัยในระดับปริญญาโท จำนวน 1 คน ระดับปริญญาเอก 3 คน รวมทั้งมีนักศึกษาระดับปริญญาเอก จำนวน 2 คน ที่ได้รับ รางวัลดีเด่นในการประชุมวิชาการนานาชาติ ในต่างประเทศ และนักศึกษาปริญญาโท 1 คน ได้รับ รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น ระดับปริญญาโท ประจาปี 2556 จากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

โครงการที่ 2

โครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับโรคมะเร็ง

ผลการดำเนินงานของกลุ่มวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับโรคมะเร็งในปีงบประมาณ 2557 นักวิจัยในกลุ่มสามารถผลักดันงานวิจัยจนสามารถตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติที่อยู่ในฐาน ISI จำนวน 8 เรื่อง และในวารสารระดับชาติที่ได้รับการรับรองในกลุ่มที่ 1 ของ TCI จำนวน 1 เรื่อง รวมทั้งการนาเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติจำนวน 10 เรื่อง และระดับชาติจำนวน 3 เรื่อง อาจารย์ในกลุ่มวิจัยได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ และระดับชาติ ผลงานวิจัยได้รับการยื่นขอจดอนุสิทธิบัตร 4 เรื่อง และได้รับการจดอนุสิทธิบัตร 2 เรื่อง ผลงานที่ตีพิมพ์ในปีนี้ค่อนข้างมีความหลากหลาย และเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น การผลิตโครงร่าง (scaffold) ที่ใช้ผลิตภัณฑ์สกัดจากไหม คือโปรตีนไฟโบรอินมาเชื่อมต่อกับเจลาติน คอนดรอยตินซัลเฟต และไฮยาลูโรแนน เพื่อใช้สาหรับเลี้ยง mesenchymal stem cell ซึ่งเหมาะสำหรับการ differentiation ไปเป็น chondrocytes ใน tissue engineering ส่วนอีกหนึ่งเทคโนโลยีคือ การใช้ focal plane array-Fourier transform infrared microspectroscopy เพื่อใช้ตรวจสอบการ differentiation ของ mesenchymal stem cell ไปเป็น chondrocytes ในการวิจัยด้านมะเร็งปากมดลูก ได้ค้นพบหน้าที่สาคัญของ chitinase 3 like 1 (CHI3L1) ที่เกี่ยวข้องกับ angiogenesis ในมะเร็งปากมดลูก โดยพบความสัมพันธ์ของ CHI3L1 กับ vascular endothelial growth factor (VEGF), microvessel density และการแพร่กระจายของมะเร็ง งานวิจัยสารสกัดจากผักพื้นบ้าน เช่น ผักคะยาที่สามารถเหนี่ยวนาให้เซลล์มะเร็งปากมดลูกเกิดการตายแบบอะพอพโทซิส ส่วนการศึกษาดีเอ็นเอเมทิลเลชันโดย Infinium DNA array bead chip ในตัวอย่างมะเร็งท่อน้าดีเปรียบเทียบกับตัวอย่างปกติที่ได้จากเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง พบเมทิลเลชันของยีนที่เกี่ยวข้องกับ embryonic stem cell ทั้งชนิด hyper และ hypomethylation ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นว่ามะเร็งท่อน้ำดีเกี่ยวข้องกับ cancer stem cells นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับยีนที่เกี่ยวข้องกับการแพร่กระจายของมะเร็งท่อน้ำดี ได้แก่ epithelial mesenchymal transition (EMT) เป็นต้น

เนื่องจากในปีนี้ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (ศวป.) ได้เป็นเจ้าภาพร่วมกับคณะเทคนิคการแพทย์ ในการจัดการประชุมระดับชาติ และนานาชาติ The International Medical Sciences Conference 2014 and The 4th MT Symposium: Emerging diseases and public health concern in Asia-Pacific region “Translational Research from Molecular Basis to Health Care” ณ โรงแรมพลูแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด เนื่องในโอกาสที่คณะเทคนิคการแพทย์ก่อตั้งครบรอบ 36 ปี ทาให้อาจารย์ และนักศึกษาในกลุ่มมะเร็งจำนวนมากสามารถเข้าร่วมประชุม และนำเสนอผลงานวิจัย ซึ่งมีผลงานเรื่อง Methylation sensitive-high resolution melting: Biased primer VS unbiased primer ของนางสาววิภาวรรณ วาเสนังได้รับรางวัลโปสเตอร์ยอดเยี่ยม ปีนี้นักศึกษาในกลุ่มมีผู้สาเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทจำนวน 1 คน และระดับปริญญาเอกจำนวน 1 คน นักวิจัยของกลุ่มได้รับการสนับสนุนแหล่งเงินทุนวิจัย และทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาปริญญาโทและเอกจากแหล่งทุนภายในและภายนอก เช่น สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยแห่งชาติ โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และทุนอุดหนุนทั่วไปจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

โครงการที่ 3

โครงการวิจัยและพัฒนาภูมิคุ้มกันระดับเซลล์ โมเลกุลและการปลูกถ่ายอวัยวะและเนื้อเยื่อ

ในปีงบประมาณ พ.. 2557 กลุ่มวิจัยภูมิคุ้มกันได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารนานาชาติทั้งสิ้น 12 เรื่อง ความร่วมมือในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรค Melioidosis โดย ผศ. ดร. กาญจนา เลิศมีมงคลชัย ทั้งกับสถาบันภายในประเทศและต่างประเทศยังคงผลิตผลงานที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และกำลังขยายความร่วมมือไปยังกลุ่มประเทศใน AEC โดยเฉพาะในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและกัมพูชา รองศาสตราจารย์ ดร. สหพัฒน์บรัศว์รักษ์ยังคงมีความร่วมมือกับอาจารย์และนักวิจัยจากศูนย์วิจัยสมุนไพรฯและสามารถตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการนานาชาติได้อย่างต่อเนื่อง

ในปีนี้กลุ่มวิจัยมีนักศึกษาที่สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจำนวน 6 คน ซึ่งเป็นนักศึกษาที่รับทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว) ทุนเครือข่ายเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาอาจารย์ในระดับอุดมศึกษา (สกอ) และทุน Cluster วิจัย (SHeP-GMS) มหาวิทยาลัยขอนแก่น และนักศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 1 คน กลุ่มวิจัยได้รับทุนสนับสนุนจากต่างประเทศ คือ NIH/NANID ประเทศสหรัฐอเมริกา (ประมาณ 2.9 ล้านบาท /ปี เป็นเวลา 3 ปี)

สำหรับการเผยแพร่ผลงานวิจัยโดยการนำเสนอในที่ประชุมระดับนานาชาติ จานวนทั้งสิ้น 6 เรื่อง ระดับชาติ จำนวนทั้งสิ้น 2 เรื่อง นักวิจัยของกลุ่มได้รับเกียรติ์ให้เป็นผู้ประเมินผลงาน เพื่อการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทั้งระดับนานาชาติและระดับชาติ รวมทั้งเป็นผู้ประเมินโครงการวิจัย และรายงานโครงการวิจัยของหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งร่วมเป็นกองบรรณาธิการในวารสารนานาชาติ คือ Microbial Pathogenesis, Asian Pacific Journal of Allergy and Immunology และ ISRN Immunology และ วารสารระดับชาติ คือ วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์การบริการโลหิต

 

โครงการที่ 4

โครงการวิจัยและพัฒนาวิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยโรคติดเชื้อ

โครงการวิจัยต่างๆ ที่ดำเนินการโดยนักวิจัยและนักศึกษาบัณฑิตศึกษาในปีงบประมาณ 2557 ยังคงเป็นโครงการวิจัยเกี่ยวข้องกับจุลชีพก่อโรคที่เป็นปัญหาในประเทศไทยทั้งที่ระบาดในชุมชนและในโรงพยาบาล ได้แก่ กลุ่มแบคทีเรียดื้อยา เช่น Staphylococcus aureus, Enterobacteriaceae การวิจัยเกี่ยวกับจุลชีววิทยากับโรคนิ่วในผู้ป่วยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงการผสมผสานการวิจัยด้านไวรัสวิทยากับเชื้อดื้อยา โดยศึกษาวิจัยค้นหา Bacteriophage ที่อาจนามาใช้รักษาโรคติดเชื้ออันมีสาเหตุจาก Acinetobacter baumannii ซึ่งดื้อยาเกือบทุกขนาน และยังคงศึกษาวิจัยเกี่ยวกับไวรัส Dengue การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวิทยาการระบาดของเชื้อวัณโรคในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งการจาแนกสายพันธุ์และการศึกษากลไกการดื้อยา การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ Helicobacter pylori ในผู้ป่วยระบบน้าดีและท่อน้าดีเกี่ยวเนื่องจากการศึกษาโรคพยาธิใบไม้ตับ งานวิจัยและผลงานวิจัยอยู่ในกรอบของการวิจัยในปีงบประมาณ 2557 ที่ปรากฏคือ

1. การศึกษาวิจัยเพื่อวินิจฉัย VIRSA ที่แพร่ระบาดในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

2. การพัฒนาเทคนิคเพื่อตรวจหาเชื้อดื้อยากลุ่ม Carbapenemase

3. การศึกษาวิจัยของแบคทีเรียก่อโรคในผู้ป่วยโรคนิ่ว

4. การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการตอบสนองต่อแอนติเจนของไวรัส Dengue ของหนู

5. การศึกษาด้านระบาดการดื้อยาของ Mycobacterium tuberculosis และประเมินประสิทธิภาพของเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ

6. การศึกษามะเร็งท่อน้าดีที่เกี่ยวข้องกับ Opisthorchis viverrini

โครงการวิจัยและพัฒนาการตรวจวินิจฉัยด้านโรคติดเชื้อ อันเป็นโครงการย่อยที่ 4 ของศูนย์วิจัยฯ ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาสำนักงานสนับสนุนการวิจัย (สกว.), การศึกษาจุลชีพก่อโรคในผู้ป่วยโรคนิ่วบทบาทของการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์สปีชี่ส์ในโรคโอพิสทอร์เชียซีสวิเวอร์รินี่ที่สัมพันธ์กับโรคมะเร็งท่อน้าดี

ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ กลุ่มวิจัยโรคติดเชื้อได้รายงานผลงานวิจัยในวารสารในฐานข้อมูลนานาชาติ จำนวน 10 เรื่อง และวารสารในประเทศ (TCI) จำนวน 3 เรื่อง นาเสนอผลงานวิจัยระดับนานาชาติ จำนวน 10 เรื่อง นำเสนอผลงานวิจัยระดับประเทศ จำนวน 20 เรื่อง

ในปีงบประมาณ 2557 มีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโท ได้แก่ นางสาววีรประภา บุญถา งานวิจัยที่นักวิจัยของกลุ่มวิจัยโรคติดเชื้อ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติทางการแพทย์กาลังดาเนินอยู่ คาดว่าจะจัดพิมพ์เผยแพร่ต่อไปได้อีกหลายโครงการในปีงบประมาณ 2558 อาทิ การพัฒนาการตรวจวิเคราะห์แบคทีเรียดื้อยากลุ่ม carbapenem ด้วยเทคนิค Loop mediated isothermal amplification การประยุกต์เทคนิคนาโนเทคโนโลยีเพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อ การกลายพันธุ์ของการดื้อยาเชื้อวัณโรคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น